วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่ 7


                           
                          บันทึกอนุทิน


                    วิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
                              อาจารย์ผู้สอน อ. ตฤน  แจ่มถิน
                               วันศุกร์ที่ 26 กรกฏาคม 2556
                            ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
           เวลาเข้าสอน 13.10 น.  เวลาเข้าเรียยน 13.10 น.    เวลาเลิกเรียน 16.40 น.



        เริ่มเรียนอาจารย์ให้วาดรูปอะไรก็ได้แล้วให้นำรูปของแต่ละคนมาเป็นตัวประกอบในการเล่านิทาน เราเองก็วาดรูป เจ้า Spongebob แสนซน แล้วไปเล่านิทานต่อเพื่อนที่วาดมาซูโกะ ซึ่งมาซูโกะเป็นสาวเจ้าของไร่ "พอเจ้า Spongbob แสนซนเข้าไปในทุ่งหญ้าเห็นเจ้ามาซูโกะเดินอยู่ก็เลยเข้าไปชวนเจ้ามาซูโกะไปเล่นด้วยกัน หลังจากนั้นอาจารย์ก็สอนเรื่องการประเมินดังรายละเอียดข้างล่างนี้


                                  


                             
                         
                       การประเมิน

       1. ใช้เครื่องมือในการประเมินที่หลากหลาย
       2. เน้นที่ความก้าวหน้าของเด็ก คือ บันทึกสิ่งที่เด็กทำได้ ทำให้สามารถส่งเสรมเด็กให้ก้าวไปสู่พัฒนาการทางภาษาในระดับที่สูงขึ้นได้
      3. ประเมินจากบริบทที่หลากหลาย เช่น เด็กบางคนจะพูดเก่งเมื่ออยู่กับเพื่อนต่างจากที่อยู่กับผู้ใหญ่เด็กจะไม่ค่อยพูด
     4. ให้เด็กมีโอกาสประเมินตัวเอง
     5. ครูให้ความสนใจทั้งกระบวนการและผลงาน
     6. ประเมินเด็กเป็นรายบุคคล


        
           ตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมทักษะทางภาษาของเด็ก

             -การเขียนตามคำบอกของเด็ก
             -ช่วยเด็กเขียนบันทึก
             -อ่านนิทานร่วมกัน
            -เขียนประกาศเพื่อแจ้งข่าว
            - อ่านคำคล้องจอง
            - ร้องเพลง
            -เล่าสู่กันฟัง
            -เขียนส่งสารถึงกัน    

      สุดท้ายนี้อาจารย์ก็เล่านิทานให้ฟัง 2 เรื่อง เป็นนิทานเล่าไปวาดไป เรื่อง สุนัขหมาป่า และ เกาะเต่าทอง 

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่                                                             
บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ ที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 13.06 น. เวลาเลิกเรียน 14.40 น.


       1. การจัดประสบการณ์ทางภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา 
            Skill Approch
                    - ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยๆของภาษา
                   - การประสมคำ
                   - ความหมายของคำ
                  - นำมาประกอบเป็นประโยค
                  - การแจกรูปสะกดคำ การเขียน
                - ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ
               - ไม่สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ภาษาของเด็ก

             Keneth Goodman
               - เสนอแนวทางการสอนแบบธรรมชาติ
              - มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
              - แนวทางการสอนมีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก

             ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
            - สนใจ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
           - ช่างสงสัย ช่างซักถาม
          - มีคามคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
          - ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
         - เลียนแบบคนรอบข้าง

     2. การสอนภาษแบบธรรมชาติ
          Whole Language
                ทฤษฎีมีอิทธิพลต่อการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
                    Dewey / Piaget / Vygotsky / Haliday
             - เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
            - การเรียนรู้จากกิจกรรม การเคลื่อนไหวของตนเอง และการได้สัมผัสกับสิ่งต่างๆ แล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง
           - อิทธิพลองสังคมและบุคคลอื่นๆ ที่มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
            
            การสอนภาษาแบบธรรมชาติ
            - สอนบูรณาการ / องค์รวม
             - สอนในสิ่งที่เด็กสนใจ และมีความหมายสำหรับเด็ก
             - สอนสิ่งที่ใกล้ตัวเองและอยู่ในชีวิตประจำวัน
            - สอนแทรกการฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
            - ไม่เข้มงวดกับการท่อง สะกด
            -ไม่บังคบให้เด็กเขียน

          หลักของการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
     1. การจัดสภาพแวดล้อม
         - ตัวหนังสือที่ปรากฏในห้องเรียนต้องมีเป้าหมายในการใช้จริงๆ
         - หนังสือที่ใช้จะต้องเป็นหนังสือที่ใช้ภาษาที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว
         - เด็กมีส่วนในการจัดสภาพแวดล้อม
     2. การสื่อสารที่มีความหมาย
         - เด็กสื่อสารโดยมีพื้นฐานจากประสบการณ์จริง
         - เด็กอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย
        - เด็กได้ใช้เวลาในการอ่านและเขียนตามโอกาส
    3. การเป็นแบบอย่าง
         - ครูอ่านและเขียนอย่างมีจุดมุ่งหมายในการใช้ให้เด็กเห็น
        - ครูเป็นแบบอย่างที่ดีให้เด็กเห็นว่าการอ่านเป็นเรื่องสนุก
    4. การตั้งความคาดหวัง
        - ครูเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในการอ่านและเขียน
        - เด็กสามารถอ่าน เขียน ได้ดีและถูกต้องยิ่งขึ้น
   5. การคาดคะเน
        - เด็กมีโอกาสในการทดลองภาษา
        - เด็กได้คาดเดา หรือคาดคะเนเรื่องที่อ่าน
       - ไม่คาดหวังให้เด็กอ่านและเขียนได้เหมอนผู้ใหญ่
    6. การใช้ข้อมูลย้อนกลับ
           - ตอบนองความพยายามในการใช้ภาษาของเด็ก
          - ยอมรับการอ่านและการเขียนของเด็ก
          - ตอบสนองเด็กให้เหมาะสมกับสถานการณ์
     7. การยอมรับนับถือ
          - เด็กมีความแตกต่างระหว่าบุคล
           - เด็กได้เลือกกิจกรรมที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
          - ในช่วงเวลาเดียวกันไม่จำเป็นต้องกระทำสิ่งเดียวกัน
          - ไม่ทำกิจกรรมตามจังหวะขั้นตอน
     8. การสร้างความรู้สึกเชื่อมั่น
         - ให้เด็กรู้สึกปลอดภัยเมื่อใช้ภาษา
        - ครูจะต้องทำให้เด็กไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือ
        - ไม่ตราหน้าเด็กว่าไม่มีความสารถ
        - มีความเชื่อมั่นว่าตนมีความสามารถ

                    บทบาทครู
          - ครูคาดหวังเด็กแต่คนแตกต่างกัน
         - ใช้ประสบการณ์ตรงในการสนับสนุนการอ่านการเขียน
        - ครูควรยอมรับกับความไม่ถูกครบถ้วนของเด็ก
       - ครูสร้างความสนใจ ในคำและสิ่งพิมพ์

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


เรียนครั้งที่ 5                                                

บันทึกอนุทิน

                                       วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                                            อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
                                              วันศุกร์ ที่ 12  กรกฎาคม พ.ศ. 2556
                                              ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
                         เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 12.40 น. เวลาเลิกเรียน 15.40 น.


                  องค์ประกอบของภาษา

1.  Phonology
         - คือระบบเสียงของภาษา
             - เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
             -หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำในภาษา

2. Semantic
         - คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
             - คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
              -ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน

3. Syntax
           -คือระบบไวทยากรณ์
               - การเรียงรูปประโยค

4. Pragmatic
              -คือระบบการนำไปใช้
                    -ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ 


              แนวคิดนักการศึกษา

1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
                     ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
                         -  สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
                                     - ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง

                นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
       -ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
       -การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
       -เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
      -เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง

2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
                  Piaget
                    - เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
                          - ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก    

3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
                   Arnold Gesell
                     -เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
                           -ความพร้อม วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
                           -เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
                           -เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง

4.  แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
                     Noam Chomsky
                            -  ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
                             - การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ


                         แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
         
             - เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
          -นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน     

     Richard and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภายในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม
                
                 1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
                 2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
                 3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์  
เรียนครั้งที่ 4                                                 
             
บันทึกอนุทิน

                                       วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
        
                                            อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
                                              วันศุกร์ ที่ 5  กรกฎาคม พ.ศ. 2556
                                              ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 13.10-16.40 น.
                         เวลาเข้าสอน 13.10 น. เวลาเข้าเรียน 12.40 น. เวลาเลิกเรียน 15.40 

                                 การนำเสนองานของแต่ละกลุ่ม

           กลุ่มที่่ 1 พูดถึงความหมายของภาษา และความสำคัญของภาษา แล้วเปิดวีดีโอให้ดู เด็กท่อง a-z  1-0 แล้วก็ร้องเพลงฝน

           กลุ่มที่ 2 พูดถึงแนวคิดของนักทฤษฎี
                            - เพียเจท์  = เรียนรู้ผ่านการเล่น
                             -จอนท์ ดิวอี้ = เกิดจากการลงมือทำ
                             -ไวท์กอสกี้ = เกิดจากการมีปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม
                             - กู๊ดแมน = การเรียนรู้เป็นไปตามธรรมชาติ

             กลุ่มที่ 3 แรกเกิด - 2 ปี
                           - ทารกแรกเกิด =  ลูกจะจดจ่ออยู่กับใบหน้าแม่
                            - 4 สัปดาห์      =  เด็กจะเลียนแบบพ่อแม่
                            - 6 สัปดาห์      =  เด็กจะยิ้มตามและมองตามของที่เคลื่อนที่
                            - 3 เดือน         =  เด็กจะเล่นกะของที่ห้อยอยู่ที่เปลนอนของตน
                            - 5 เดือน         =  เด็กเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติ
                            - 6 เดือน         =  เริ่มสนใจกระจกเงา ชอบที่เห็นตัวเองในกระจกเงา
                             -8 เดือน         =  เด็กจะรู้จักแสดงอารมณ์ แสดงความปรารถนา
                             -12 เดือน       =  เด็กจะชอบทำให้หัวเราะ
                             -15 เดือน       =  เด้กจะทำให้เห็นว่าเริ่มทำอะไรได้
                              -2 ปี             = เด็กสามารถอยู่ตามลำพังและจะเล่นคนเดียว
    
                การสื่อสารไม่จำเป็นเฉพาะท่องจำ แต่การมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างจะเสริมประสบการณ์ให้เด็กมากกว่า

               กลุ่มที่ 4    2-4 ปี
                     พูดถึงทฤษฎีของเพียเจท์ว่า การเรียนรู้ของเด็กจะเป็นไปตามขั้นตอนและวัยของเด็กไม่ควรไปเร่งรัดเด็ก

                กลุ่มที่ 5     4-6 ปี
                       เป็นช่วงที่เด็กมีการพัฒนา เด็กจะชอบถามอะไร ทำไม เด็กจะสนใจคำพูดของผู้ใหญ่ จากวีดีโอ เด็กจะสามารถร้องเพลงตามได้ แต่ยังไม่กล้าแสดงออก เด็กในช่วงนี้เวลาอยู่กับเพื่อนจะมีปฎิสัมพันธ์มากกว่าอยู่กับผู้ใหญ่

                กลุ่มที่ 6   
                       การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์ การเรียนรู้มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบคือ
                        - แรงขับ
                        - สิ่งเร้า
                         -การตอบสนอง
                         -การเสริมแรง

                 กลุ่มที่ 7 วิธีการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
                            -การเล่นและการเข้าสังคม
                           - การเรียนรู้เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา
                            -การช่วยเหลือตนเอง

                 กลุ่มที่ 9 องค์ประกอบของภาษา
                           เสียง ไวทยากรณ์ และ ความหมาย